วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำครุ ลหุ


เสียงหนักเบา(ครุ ลหุ
การเน้นเสียงหนักเบาในภาษาไทย  มีสาเหตุมาจาก

1. 
ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
  
คำครุ  คือ พยางค์ที่ลงเสียงหนัก  มีหลักสังเกตดังนี้
     1. เป็นพยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย เสียงสระเป็นเสียงยาว 
     2. เป็นพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เสียงสระเป็นเสียงยาวหรือเสียงสั้นก็ได้
     3. เป็นพยางค์ที่มีตัวสะกดทุกแม่
คำลหุ คือ พยางค์ที่ลงเสียงเบา  มีหลักสังเกตดังนี้
1.   เป็นพยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายและมีสระเสียงสั้น 
2.       ก็    บ่  

 

ข้อควรสังเกต  

     1. สระ ไอ ใอ เอา เป็นสระเสียงสั้น ตามรูปไม่มีพยัญชนะท้าย  แต่การออกเสียงสระ ไอ ใอ มีเสียง  /เป็นเสียงพยัญชนะท้าย และสระเอา มีเสียง /เป็นเสียงพยัญชนะท้าย พยางค์ที่ประสมสระไอ ใอ เอา จึงจัดเป็นคำครุ (เน้นเสียงหนัก)
     2. สระอำ  ตามรูปไม่ปรากฎพยัญชนะท้าย แต่ออกเสียงมี/เป็นเสียงพยัญชนะท้ายจึงจัดเป็นคำครุ เช่นเดียวกับสระ ไอ ใอ เอา   แต่ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ อาจใช้เป็นคำครุบ้าง หรือลหุบ้างแล้วแต่ตำแหน่งของพยางค์ ถือ ถ้าเป็นคำพยางค์เดียวที่ใช้สระอำ  เช่น นำ  จัดเป็นคำครุ  และคำหลายพยางค์ที่มีสระอำเป็นพยางค์ท้าย เช่น ระกำ เป็นคำครุ แต่ถ้าสระอำเป็นพยางค์แรกของคำหลายพยางค์ จะใช้เป็นคำลหุ
หลักท่องจำ
 ครุ
ลหุ
ตัวสะกด
ทุกมาตรา
-
สระ
เสียงยาว(ถ้าไม่มีตัวสะกด)เสียงสั้น
รวมถึง
อำ ไอ ใอ เอา ฤา
ณ ธ ก็ บ บ่ ฤ

กาพย์ฉบัง ๑๖

กาพย์ฉบัง ๑๖


คณะ 
                    กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๓ วรรค

  พยางค์
                     พยางค์หรือคำ วรรคที่ ๑ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ 
          รวมทั้งหมดมี ๑๖ คำ จึงเรียกว่า กาพย์ฉบัง ๑๖

  สัมผัส
               ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค ๒
               ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป 
                    ( เรียกว่า สัมผัสระหว่างบท )

  การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖
                    การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖ จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้ 
          หนึ่งบทมี ๓ วรรควรรคแรกมี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ
          การอ่านจึงเว้นจังหวะทุกๆ ๒ คำ

00 / 00 / 00
00 / 00
00 / 00 / 00
กลางไพร / ไก่ขัน / บรรเลง
ฟังเสียง / เพียงเพลง
ซอเจ้ง / จำเรียง / เวียงวัง

                                           



คำเป็น คำตาย


คำตาย  คำเป็น
1. คำตาย คือ - ผสมสละเสียงสั้นในแม่ก กา เช่น มะ จะ ติ ปริ ดุ เกาะ
พยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ บ (บ่อที่แปลว่าไม่)ธ ,ก็
มีตัวสะกดแม่ กบ กด กก เช่น นาก ตาก พัก เมฆ ภพ ตบ ภาพ ตด
2. คำเป็น คือ - พยัญชนะผสมสละเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น จา ปรี ดู กอ
คำมีตัวสะกดแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น ฟัง ,ตัง,ตน,ยาม,เชยพราว
หรือสังเกตุให้ได้คำตอบที่รวดเร็วว่ามี อำ(-ม)ไอ(-ย)ใอ(-ย)เอา(-ว) เพราะมีเสียงเหมือนตัวสะกด

ขอทบทวนเรื่อง แม่ก กา ที่เป็นตัวสะกด นะคะ
แม่ ก กา จะเป็นเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ ไม่มีตัวสะกด เช่น จา ,ปรี,เรา
แต่ถ้า ก กา + สละเสียงสั้น  จะลงเสียงหนักเหมือนมีเสียง /ว/ สะกด เช่น กระทะ,ระวัง

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ


โคลงสี่สุภาพ

เป็นคำประพันธ์ประเภท ''ร้อยกรอง'' ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปรากฏใน ''วรรณคดีไทย'' มานานแล้ว วรรณคดีไทยฉบับที่เก่าและมีชื่อเสียงมากฉบับหนึ่งคือ  "ลิลิตพระลอ"  มีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มี ''วรรณยุกต์'' เอกโทในบางตำแหน่งการประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
การประพันธ์โคลงสี่สุภาพเป็นประณีตศิลป์ ที่ใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อแสดงความคิดของผู้สรรค์สร้าง ซึ่งต้องการสะท้อนอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย ผู้อ่านต้องรับรู้ความงามด้วยใจโดยตรง ดังนั้นผู้สร้างสรรค์งานวรรณศิลป์จึงต้องช่างสังเกต รู้จักพินิจพิจารณามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามหรือคาดไม่ถึง และใช้ถ้อยคำที่ละเมียดละไม ผลงานนั้นจึงจะทรงคุณค่า

ลักษณะโคลงสี่สุภาพ

คณะของโคลงสี่สุภาพ คือ บทหนึ่ง มี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3 จะมี 2 คำ (ในบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำ
ส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้
บาทที่ 1 (บาทเอก) วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
บาทที่ 2 (บาทโท) วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
บาทที่ 3 (บาทตรี) วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอก
บาทที่ 4 (บาทจัตวา) วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
หนังสือ ''จินดามณี''  ของ ''พระโหราธิบดี''  อธิบายการประพันธ์โคลงสี่สุภาพไว้ว่า
สิบเก้าเสาวภาพแก้วกรองสนธิ์
จันทรมณฑลสี่ถ้วน
พระสุริยะเสด็จดลเจ็ดแห่ง
แสดงว่าพระโคลงล้วนเศษสร้อยมีสอง
  • เสาวภาพ หรือ สุภาพ หมายถึงคำที่มิได้กำหนดรูปวรรณยุกต์ ทั้ง เอก โท ตรี และจัตวา (ส่วนคำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับเรียกว่า พิภาษ)
  • จันทรมณฑล หมายถึง คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์โท 4 แห่ง
  • พระสุริยะ หมายถึง คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอก 7 แห่ง
  • รวมคำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอกและโท 11 คำ หรือ อักษร
  • โคลงสุภาพบทหนึ่งมี 30 คำ (ไม่รวมสร้อย)
  • คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอก อาจใช้คำตายแทนได้
  • คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์โท แทนด้วยคำอื่นไม่ได้ ต้องใช้รูปโทเท่านั้น
  • คำที่ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ หรือคำสุภาพมี 19 คำ มีหรือไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ไม่ถือว่าผิด
  • ในชุด 19 คำแม้ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ ในท้ายวรรคทุกวรรคต้องไม่มีรูปวรรณยุกต์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำให้น้ำหนักของโคลงเสียไป ได้แก่คำที่กากบาทในแผนผังข้างล่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท๐ X (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ Xเอก โท
๐ ๐ เอก ๐ X๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ X
โคลงสี่สุภาพที่มีรูป ''วรรณยุกต์'' ตรงตามบังคับนั้นมีตัวอย่างอยู่หลายเรื่อง เช่น ''ลิลิตพระลอ''  ''โคลงนิราศนรินทร์''  ''โคลงนิราศพระประธม'' เป็นต้น ตัวอย่างจากหนังสือจินดามณี พระนิพนธ์ใน''พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท'' ว่าดังนี้
นิพนธ์กลกล่าวไว้เป็นฉบับ
พึงเพ่งตามบังคับถี่ถ้วน
เอกโทท่านลำดับโดยที่ สถิตนา
ทุกทั่วลักษณะล้วนเล่ห์นี้คือโคลง
การแต่งโคลงสี่สุภาพต่อกันหลายๆ บท เป็นเรื่องราวอย่างโคลงนิราศ โคลงเฉลิมพระเกียรติ โคลงสุภาษิต หรือโคลงอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ โคลงสุภาพชาตรี และ โคลงสุภาพลิลิต
  • โคลงสุภาพชาตรี ไม่มีสัมผัสระหว่างบท ส่วนใหญ่กวีนิพนธ์แบบเก่าจะนิยมแบบนี้เป็นส่วนมาก
  • โคลงสุภาพลิลิต มีการร้อยสัมผัสระหว่างบท โดยคำสุดท้ายของบทต้นต้องส่งสัมผัสสระ ไปยังคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ในบทต่อไป
เช่น
1. บุเรงนองนามราชเจ้าจอมรา มัญเฮย
อกพยุหแสนยายิ่งแก้ว
มอญผ่านประมวลมาสามสิบ หมื่นแฮ
ถึงอยุธเยศแล้วหยุดใกล้นครา
2. พระมหาจักรพรรดิเผ้าภูวดล สยามเฮย
วางค่ายรายรี้พลเพียบหล้า
ดำริจักใคร่ยลแรงศึก
ยกนิกรทัพกล้าออกตั้งกลางสมร
3. บังอรอัคเรศผู้พิศมัย ท่านนา
นามพระสุริโยทัยออกอ้าง
ทรงเครื่องยุทธพิไชยเช่นอุปราชแฮ
เถลิงคชาธารคว้างควบเข้าขบวนไคล
 โคลงภาพเรื่องพระราชพงศาวดาร

 สัมผัส

สัมผัสบังคับ เรียกอีกอย่างว่า "สัมผัสนอก" หมายถึงสัมผัสที่กำหนดเป็นแบบแผนในคำประพันธ์ เป็นสัมผัสสระ คือมีเสียงสระและตัวสะกดมาตราเดียวกัน ดังนี้
บาทแรก คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 2 และ 3
บาทที่ 2 คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 4
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี อธิบายสัมผัสบังคับของโคลงสี่สุภาพไว้ว่า
ให้ปลายบาทเอกนั้นมาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ชอบพร้อง
บทสามดุจเดียวทัดในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้องที่ห้าบทหลัง

 คำสร้อย

คำสร้อยซึ่งใช้ต่อท้ายโคลงสี่สุภาพในบาทที่ 1 และบาทที่ 3 นั้น จะใช้ต่อเมื่อความขาด หรือยังไม่สมบูรณ์ หากได้ใจความอยู่แล้วไม่ต้องใส่ เพราะจะทำให้ "รกสร้อย"
คำสร้อยที่นิยมใช้กันเป็นแบบแผนมีทั้งหมด 18 คำ
  1. พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล
  2. แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
  3. พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 ก็ได้
  4. เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
  5. เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
  6. นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
  7. นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
  8. บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้ เช่นนี้
  9. รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด
  10. ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
  11. เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
  12. ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
  13. แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
  14. ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
  15. แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
  16. อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตกกังวล
  17. เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ
  18. เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น เฮย มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน
นอกจากนี้มีคำสร้อยที่เรียกว่า "สร้อยเจตนัง" คือใช้ตามใจไม่ควรใช้ในงานกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ และไม่นิยมกัน
"หายเห็นประเหลนุช นอนเงื่อง งงง่วง" โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย
"พวกไทยไล่ตามเพลิง เผาจุด ฉางฮือ" โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
"ลัทธิท่านเคร่งเขมง เมืองท่าน ถือฮอ" โคลงภาพฤๅษีดัดตน ด้วย กล่าวคือ มีเอก 7 แห่ง และโท 4 แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่

ชนิดของประโยค


ชนิดของประโยค
ประโยคแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
 1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)

 2. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)

  3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

ประโยคความเดียว (เอนกประโยค) คือประโยคที่มีใจความเพียงความเดียว มีภาคแสดงภาคเดียว เช่น

     ลมพัด
     ควายกินฟางข้าว
     ลิงขึ้นต้นมะพร้าว
ประโยคความเดียว อาจมีส่วนขยายได้ เช่น
     ม้าวิ่งเร็วมาก
     ควายตัวนั้นกินฟางงข้าว
     ลิงขึ้นต้นมะพร้าวสูง
ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) คือการที่เอาประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกัน โดยใช้สันธานป็นตัวเชื่อม
ประโยคความรวมแบ่งได้ 4 ชนิด คือ
    


1. ใจความคล้อยตามกัน ใช้สันธาน และ, ทั้ง…..และ, แล้ว…ก็, แล้ว…จึง, ครั้น…ก็, ครั้น…จึง, ถ้าว่า, ถ้า…ก็, ผิว่า เป็นตัวเชื่อม เช่น ตาและยายไปวัด

     ครั้นเขาอาบน้ำแล้วก็แต่งตัว พอฝนตกแล้วแดดก็ออก

    

2.ใจความขัดแย้ง ใช้สันธาน แต่, ถึง…ก็, กว่า…ก็, แต่…ทว่า, เช่น

     แดงเป็นชาวนาแต่ขาวเป็นชาวไร่, กว่าเขาจะทำเขื่อนน้ำก็ท่วม, ถึงเธอรูปสวยก็พูดจาไม่สุภาพ

    

3.ใจความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้สันธาน หรือ, มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น เป็นตัวเชื่อม เช่น

      เธอจะเรียนนิติศาสตร์หรือบัญชี, เธอไปกับฉันมิฉะนั้นเธอเฝ้าบ้าน, เธอต้องเลิกเล่นการพนันไม่เช่นนั้นเธอจะติดคุก

    

 4.ใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน จะใช้สันธาน เพราะ, เพราะ…จึง, เพราะฉะนั้น…จึง, ฉะนั้น…จึง เป็นนั้นตัวเชื่อม และจะต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อนแล้วมีผลตามมาภายหลัง เช่น  เพราะเขาขยันจึงร่ำรวย, ฝนตก ฉะนั้นน้ำจึงท่วม

     หมายเหตุ ถ้าผลเกิดก่อนเหตุตามหลังจะเป็นประโยคความซ้อน เช่น

    เขาสอบตกเพราะเขาป่วย
    น้ำท่วมเพราะเขื่อนพัง
ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือ ประโยคที่มีประโยคใหญ่หรือประโยคหลักอยู่ 1 ประโยค แล้วมีประโยคย่อย ซึ่งเป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่
    ประโยคหลัก เรียกว่า มุขยประโยค
    ประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่ เรียกว่า อนุประโยค
ตัวอย่าง ประโยคความซ้อน เช่น
     เขารักคนที่สวมเสื้อสีแดง
     เปาบุ้นจิ้น ประหารขุนนาง ซึ่งเป็นโจร
     เขาวิ่งจนเป็นลม
ประโยคย่อย หรืออนุประโยค แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
    


1.นามานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างนาม อาจเป็นบทประธาน หรือบทกรรม ของมุขยประโยค เช่น

     ผู้ร้ายฆ่าคนซ่อนอยู่ในกระท่อม (บทประธาน)

     เขาเห็นงูเขียวกินเขียด (บทกรรม)
และมักมีคำเชื่อมคือ คำว่า ให้, ว่า เช่น
     ฉันไม่โกรธให้เขาพูด
     เขาพูดว่าอากาศกรุงเทพฯเป็นพิษ



2.คุณานุประโยค คืออนุประโยคที่ขยายนามหรือสรรพนาม ในมุขยประโยค โดยมีประพันธสรรพนาม ที่, ซึ่ง, อัน เป็นบทเชื่อม เช่น

     เขาตีสุนัขที่กัดไก่

        เขาอภิปรายโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง
     ทหารพรานเดินป่าอันรกร้างกว้างใหญ่



3.วิเศษณานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างคำวิเศษณ์ คือ ขยายกริยา หรือขยายวิเศษณ์ในมุขยประโยค

มักจะมีประพันธ์วิเศษณ์ เช่น ขณะที่, หลังจาก, เหมือน, จน, ตาม, เพราะ เป็นบทเชื่อม เช่น

     เขาเป็นคนทำงานขณะที่ฝฝนตก
     หลังจากเขขาป่วย เขาลาออกจากงาน
     เขาคอยเธอเหมือนข้าวคอยฝน
     วัวเดินจนหญ้าตาย
     เขาทำงานคามเจ้านายสั่ง
     ชาวบ้านล้มตายเพราะน้ำท่วม
     หมายเหตุ คำว่า “เพราะ” ต้องมีผลเกิดก่อน เหตุตามหลัง เช่น
     ชาวบ้านล้มตาย เป็นผล
     น้ำท่วม เป็นเหตุ

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต


ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต
          
ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลึงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
1.   หน่วยเสียงสระ
หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
2.   หน่วยเสียงพยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสิงภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี

1.   1.      สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระประสมกับสระและพยัญชนะต้น
เช่น    ทุกข์  =  ตัวสะกด
       ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น  สัตย  สัจจ  ทุกข  เป็นต้น  คำในภาษาบาลี
จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้
                             
แถวที่
1
2
3
4
5
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรค
 ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อัง

มีหลักสังเกตดังนี้
ก.     พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
ข.     ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ
ปัจฉิม  สัตต   หัตถ  บุปผา เป็นต้น
ค.     ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3  สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน  เช่น
อัคคี   พยัคฆ์  วิชชา  อัชฌา  พุทธ  คพภ  (ครรภ์)
             ถ้าพยัญชนะตัวที่  5  สะกด  ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์
สัมปทาน  สัมผัส  สัมพันธ์  สมภาร  เป็นต้น
   พยัญชนะบาลี  ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ ”  จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ
อาสาฬห์  วิฬาร์  โอฬาร์  พาฬ  เป็นต้น
          3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เช่น
          บาลี              ไทย              บาลี              ไทย
          รัฎฐ              รัฐ                อัฎฐิ             อัฐิ
          ทิฎฐิ             ทิฐิ               วัฑฒนะ         วัฒนะ
          ปุญญ            บุญ               วิชชา            วิชา
          สัตต             สัต               เวชช             เวช
          กิจจ              กิจ               เขตต            เขต
          นิสสิต           นิสิต             นิสสัย           นิสัย
          ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์   กิจจะลักษณะ  เป็นต้น

วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้

1.    พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว  + 2 ตัว  คือ ศษ 
ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศษ  มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น  ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น  ศอก  ศึก  ศอ  เศร้า  ศก ดาษ  กระดาษ  ฝรั่งเศส  ฝีดาษ  ฯลฯ
2. ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน  ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้
ไม่กำหนดตายตัว เช่น  อัปสร  เกษตร  ปรัชญา  อักษร เป็นต้น
3. สังเกตจากสระ สระในภาษาบาลี มี  8  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  
ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี  8 ตัว +  เพิ่มอีก 6  ตัว  คือ สระ ฤ  ฤา ภ ภา   ไอ  เอา 
ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์
เสาร์  ไปรษณีย์  ฤาษี  คฤหาสน์ เป็นต้น
4.สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น
จักร  อัคร  บุตร  สตรี  ศาสตร์  อาทิตย์  จันทร์ เป็นต้น
5.สังเกตจากคำที่มีคำว่า เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์
สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น
6. สังเกตจากคำที่มี  ”  อยู่  เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
7 .สังเกตจากคำที่มี  รร”  อยู่ เช่น สรรค์  ธรรม์  วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์
มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
          ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้
          1.  ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกันเรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          กมฺม                                กรฺม                                 กรรม
          จกฺก                                 จกฺร                                 จักร
         
          2.  ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          ครุฬ                                 ครุฑ                                ครุฑ
          โสตฺถิ                               สฺวสฺติ                               สวัสดี
          3.  คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          ขนฺติ                                กฺษานฺติ                                      ขันติ
          ปจฺจย                               ปฺรตฺย                               ปัจจัย
          4.  รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          กณฺหา                              กฺฤษฺณา                                     กัณหา,กฤษณา
          ขตฺติย                               กฺษตฺริย                                      ขัตติยะ,กษัตริย์
          5.  คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่ บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น
          บาลี                       สันสกฤต                ไทย             ความหมาย
          กิริยา                      กฺริยา                      กิริยา            อาการของคน
                                                                   กริยา            ชนิดของคำ
          โทส                       เทฺวษ                      โทสะ            ความโกรธ
                                                                   เทวษ            ความเศร้าโศก
คำภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย
          คำภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งในสมัย ปัจจุบันทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง คือพบตั้งแต่ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีไม่มากนักแต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นไทยได้นำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยของเราแล้ว และในสมัยต่อมาก็ปรากฏว่านิยมใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตในการแต่งวรรณคดีมากขึ้น
          วิสัณติ์ กฏแก้ว  (2529 : 2) ได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้คำบาลีและสันสกฤตเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาใช้ในทางวรรณคดีพอจะสรุปได้ดังนี้
          1.  วรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมที่ถือเอาเสียงไพเราะเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง นอกจากจะถือเอาความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญแล้ว ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทฉันท์ จะต้องถือคำ ครุ ลหุ เป็นสำคัญอีกด้วย คำที่เป็นเสียงลหุในภาษาไทยมีน้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะสามารถเลือกคำ ลหุ ครุ ได้มากและสามารถดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของเราได้ดี
          ตัวอย่าง
          ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี   สรรเพชญพระผู้มี       พระภาค
          อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์     ทรงคุณคะนึงมาก      ประมาณ
                                                          (สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19  อิลราชคำฉันท์)
          2.  คนไทยถือว่าคำบาลีและสันสกฤตเป็นคำสูง เพราะเป็นคำที่ใช้เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า และผู้ที่ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะควรแก่การเคารพบูชาทั่วไป เช่น พระสงฆ์ พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งฉันท์ที่ถือกันว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้คำบาลีและสันสกฤต
          3.  วรรณคดีไทยโดยมากมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรๆวงศ์ๆ ซึงจะต้องใช้คำราชาศัพท์ การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นคำราชาศัพท์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่น พระเนตร พระพักตร์ พระกรรณ เป็นต้น
          4.  การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตแต่งฉันท์ เป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ของผู้แต่งว่ามีความรู้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นอย่างดี มีคนเคารพนับถือและยกย่องว่าเป็น ปราชญ์