วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชนิดของประโยค


ชนิดของประโยค
ประโยคแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
 1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)

 2. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)

  3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

ประโยคความเดียว (เอนกประโยค) คือประโยคที่มีใจความเพียงความเดียว มีภาคแสดงภาคเดียว เช่น

     ลมพัด
     ควายกินฟางข้าว
     ลิงขึ้นต้นมะพร้าว
ประโยคความเดียว อาจมีส่วนขยายได้ เช่น
     ม้าวิ่งเร็วมาก
     ควายตัวนั้นกินฟางงข้าว
     ลิงขึ้นต้นมะพร้าวสูง
ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) คือการที่เอาประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกัน โดยใช้สันธานป็นตัวเชื่อม
ประโยคความรวมแบ่งได้ 4 ชนิด คือ
    


1. ใจความคล้อยตามกัน ใช้สันธาน และ, ทั้ง…..และ, แล้ว…ก็, แล้ว…จึง, ครั้น…ก็, ครั้น…จึง, ถ้าว่า, ถ้า…ก็, ผิว่า เป็นตัวเชื่อม เช่น ตาและยายไปวัด

     ครั้นเขาอาบน้ำแล้วก็แต่งตัว พอฝนตกแล้วแดดก็ออก

    

2.ใจความขัดแย้ง ใช้สันธาน แต่, ถึง…ก็, กว่า…ก็, แต่…ทว่า, เช่น

     แดงเป็นชาวนาแต่ขาวเป็นชาวไร่, กว่าเขาจะทำเขื่อนน้ำก็ท่วม, ถึงเธอรูปสวยก็พูดจาไม่สุภาพ

    

3.ใจความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้สันธาน หรือ, มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น เป็นตัวเชื่อม เช่น

      เธอจะเรียนนิติศาสตร์หรือบัญชี, เธอไปกับฉันมิฉะนั้นเธอเฝ้าบ้าน, เธอต้องเลิกเล่นการพนันไม่เช่นนั้นเธอจะติดคุก

    

 4.ใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน จะใช้สันธาน เพราะ, เพราะ…จึง, เพราะฉะนั้น…จึง, ฉะนั้น…จึง เป็นนั้นตัวเชื่อม และจะต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อนแล้วมีผลตามมาภายหลัง เช่น  เพราะเขาขยันจึงร่ำรวย, ฝนตก ฉะนั้นน้ำจึงท่วม

     หมายเหตุ ถ้าผลเกิดก่อนเหตุตามหลังจะเป็นประโยคความซ้อน เช่น

    เขาสอบตกเพราะเขาป่วย
    น้ำท่วมเพราะเขื่อนพัง
ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือ ประโยคที่มีประโยคใหญ่หรือประโยคหลักอยู่ 1 ประโยค แล้วมีประโยคย่อย ซึ่งเป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่
    ประโยคหลัก เรียกว่า มุขยประโยค
    ประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่ เรียกว่า อนุประโยค
ตัวอย่าง ประโยคความซ้อน เช่น
     เขารักคนที่สวมเสื้อสีแดง
     เปาบุ้นจิ้น ประหารขุนนาง ซึ่งเป็นโจร
     เขาวิ่งจนเป็นลม
ประโยคย่อย หรืออนุประโยค แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
    


1.นามานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างนาม อาจเป็นบทประธาน หรือบทกรรม ของมุขยประโยค เช่น

     ผู้ร้ายฆ่าคนซ่อนอยู่ในกระท่อม (บทประธาน)

     เขาเห็นงูเขียวกินเขียด (บทกรรม)
และมักมีคำเชื่อมคือ คำว่า ให้, ว่า เช่น
     ฉันไม่โกรธให้เขาพูด
     เขาพูดว่าอากาศกรุงเทพฯเป็นพิษ



2.คุณานุประโยค คืออนุประโยคที่ขยายนามหรือสรรพนาม ในมุขยประโยค โดยมีประพันธสรรพนาม ที่, ซึ่ง, อัน เป็นบทเชื่อม เช่น

     เขาตีสุนัขที่กัดไก่

        เขาอภิปรายโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง
     ทหารพรานเดินป่าอันรกร้างกว้างใหญ่



3.วิเศษณานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างคำวิเศษณ์ คือ ขยายกริยา หรือขยายวิเศษณ์ในมุขยประโยค

มักจะมีประพันธ์วิเศษณ์ เช่น ขณะที่, หลังจาก, เหมือน, จน, ตาม, เพราะ เป็นบทเชื่อม เช่น

     เขาเป็นคนทำงานขณะที่ฝฝนตก
     หลังจากเขขาป่วย เขาลาออกจากงาน
     เขาคอยเธอเหมือนข้าวคอยฝน
     วัวเดินจนหญ้าตาย
     เขาทำงานคามเจ้านายสั่ง
     ชาวบ้านล้มตายเพราะน้ำท่วม
     หมายเหตุ คำว่า “เพราะ” ต้องมีผลเกิดก่อน เหตุตามหลัง เช่น
     ชาวบ้านล้มตาย เป็นผล
     น้ำท่วม เป็นเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น