เสียงหนักเบา(ครุ - ลหุ)
การเน้นเสียงหนักเบาในภาษาไทย มีสาเหตุมาจาก
1. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
คำครุ คือ พยางค์ที่ลงเสียงหนัก มีหลักสังเกตดังนี้
1. เป็นพยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย เสียงสระเป็นเสียงยาว
2. เป็นพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เสียงสระเป็นเสียงยาวหรือเสียงสั้นก็ได้
3. เป็นพยางค์ที่มีตัวสะกดทุกแม่
คำลหุ คือ พยางค์ที่ลงเสียงเบา มีหลักสังเกตดังนี้
1. เป็นพยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายและมีสระเสียงสั้น
2. ณ ธ ก็ บ บ่ ฤ
ข้อควรสังเกต
1. สระ ไอ ใอ เอา เป็นสระเสียงสั้น ตามรูปไม่มีพยัญชนะท้าย แต่การออกเสียงสระ ไอ ใอ มีเสียง /ย/ เป็นเสียงพยัญชนะท้าย และสระเอา มีเสียง /ว/ เป็นเสียงพยัญชนะท้าย พยางค์ที่ประสมสระไอ ใอ เอา จึงจัดเป็นคำครุ (เน้นเสียงหนัก)
2. สระอำ ตามรูปไม่ปรากฎพยัญชนะท้าย แต่ออกเสียงมี/ม/ เป็นเสียงพยัญชนะท้ายจึงจัดเป็นคำครุ เช่นเดียวกับสระ ไอ ใอ เอา แต่ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ อาจใช้เป็นคำครุบ้าง หรือลหุบ้างแล้วแต่ตำแหน่งของพยางค์ ถือ ถ้าเป็นคำพยางค์เดียวที่ใช้สระอำ เช่น นำ จัดเป็นคำครุ และคำหลายพยางค์ที่มีสระอำเป็นพยางค์ท้าย เช่น ระกำ เป็นคำครุ แต่ถ้าสระอำเป็นพยางค์แรกของคำหลายพยางค์ จะใช้เป็นคำลหุ
หลักท่องจำ
ครุ | ลหุ | |
ตัวสะกด | ทุกมาตรา | - |
สระ | เสียงยาว(ถ้าไม่มีตัวสะกด) | เสียงสั้น |
รวมถึง | อำ ไอ ใอ เอา ฤา | ณ ธ ก็ บ บ่ ฤ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น